กรมเจรจาฯ แนะโอกาสทองใช้ FTA ขนผลไม้ไทยผ่าน ‘ท่านาแล้ง’ รุกตลาดจีน
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้บริหารโครงการท่าบก (Dry Port) ท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เรื่องแนวทางการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากเส้นทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจท่าบกท่านาแล้ง และสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ส่งออกจากไทยผ่านด่านหนองคายไปยัง สปป.ลาว เพื่อขึ้นรถไฟไปจีน โดยนับตั้งแต่เส้นทางรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการ เมื่อธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกผลไม้ไปจีนได้เพิ่มขึ้นมาก จากที่มูลค่าส่งออกจากไทยทางด่านหนองคายผ่านแดน สปป.ลาว ไปจีน อยู่ที่ 90.41 ล้านบาท ในปี 2564 แต่เมื่อเส้นทางรถไฟจีน-ลาว เริ่มเปิดใช้บริการ เมื่อธันวาคม 2564 พบว่า มูลค่าส่งออกจากไทยทางด่านหนองคายผ่านแดน สปป.ลาว ไปจีน เพิ่มเป็น 1,964.89 ล้านบาท ในปี 2565 และเป็น 2,848.41 ล้านบาท ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ของปี 2566 ซึ่งร้อยละ 72 ของมูลค่าส่งออกดังกล่าว หรือ 2,073.18 ล้านบาท เป็นการส่งออกทุเรียนสดจากไทยไปจีน ขยายตัวร้อยละ 364.69 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับสินค้าอื่นที่ส่งออกจากไทยทางด่านหนองคาย เพื่อขึ้นรถไฟจีน-ลาว ไปจีน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลายข้าวเหนียว ยางพารา แร่เฮมาไทต์และหัวแร่ เม็ดพลาสติก และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ ท่าบกท่านาแล้ง ตั้งอยู่ภายในเวียงจันทน์โลจิสติกพาร์ค เป็นหนึ่งในโครงการที่ สปป.ลาว พัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (landlocked) สู่ประเทศที่เชื่อมต่อทางพรมแดน (land-linked) ได้ โดยเป็นจุดอำนวยความสะดวกอย่างครบวงจรในการเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ขนส่งจากไทย ผ่านจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) เข้าสู่ สปป.ลาว โดยสินค้าที่ผ่านเส้นทางนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อเข้าสู่ตลาด สปป.ลาว และอีกส่วนหนึ่งเพื่อขึ้นรถไฟจีน-ลาว สู่ตลาดจีน โดยรถไฟจีน-ลาว ได้ช่วยลดระยะเวลาการขนส่งลงอย่างมาก จากที่เคยใช้เวลาผ่านถนนเส้นทาง R3A ประมาณ 2 วัน เพื่อไปจีน เป็นใช้เวลาบนรถไฟไม่เกิน 15 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันรถไฟจีน-ลาว มีขบวนขนส่งสินค้าเข้า-ออก 14 ขบวนต่อวัน ขาเข้าและขาออกอย่างละ 7 ขบวน ซึ่งนับตั้งแต่จีนสร้างจุดตรวจเช็กด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ที่ด่านรถไฟโม่ฮานแล้วเสร็จ และเปิดให้นำเข้าผลไม้จากไทย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกผลไม้สด โดยเฉพาะทุเรียนไปจีน โดยใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวได้มากขึ้น
นางอรมน เสริมว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-พ.ค.) นอกจากทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้ส่งออกอันดับ 1 ของไทยไปจีน (2,091.58 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 28.23 แล้ว ปัจจุบันยังมีผลไม้สดของไทยชนิดอื่นที่มีแนวโน้มทำตลาดได้ดีในจีน เช่น การส่งออกมะม่วงของไทยไปจีน (มูลค่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 218.35 สับปะรด (มูลค่า 6.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 84.04 ลำไย (108.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 8.82 และมังคุด (219.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 4.18 เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าผลไม้ไทยได้รับความนิยมในผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ไทย อาจใช้โอกาสนี้ ทำตลาดเพิ่มการส่งออกผลไม้ประเภทอื่นๆ ไปจีน รวมทั้งใช้ประโยชน์จาก FTA ทั้งกรอบอาเซียน-จีน (ACFTA) และความตกลง RCEP ซึ่งจีนไม่เก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าผลไม้ที่ส่งออกจากไทยแล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2566 ผู้ประกอบการไทยได้ใช้สิทธิ์ความตกลงอาเซียน-จีน (ACFTA) ส่งออกทุเรียนสดไปจีน มูลค่า 2,022 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้สิทธิความตกลง RCEP ส่งออก มูลค่า 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สปป.ลาว เป็นคู่ค้าอันดับ 8 ของไทยในอาเซียน และเป็นอันดับที่ 20 ของโลก โดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว มูลค่า 7,879.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.52 จากปี 2564 โดยเป็นการส่งออก มูลค่า 4,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.47 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำตาลทราย และเคมีภัณฑ์ และเป็นการนำเข้า มูลค่า 3,339.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.43 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิงอื่นๆ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี และเงินแท่งและทองคำ และสำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 มูลค่าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว อยู่ที่ 3,286.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทย 1,994.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากลาว 1,291.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง