Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • น้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติก ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์

น้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติก ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์

ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังน้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติกลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์

ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NSIDC และองค์การนาซาได้เปิดเผย เมื่อจันทร์ที่ผ่านมา (25 ก.ย.) โดยอ้างอิงข้อมูลจากภาพถ่ายทางดาวเทียม ณ วันที่ 10 กันยายน ระบุว่า ขอบเขตแผ่นน้ำแข็งในทะเลที่ปกคลุมมหาสมุทรรอบแอนตาร์กติกเหลือเพียง 16.96 ล้านตารางกิโลเมตร

ระดับน้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติก ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

น้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติก ลดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในช่วงฤดูหนาวนับตั้งแต่เริ่มบันทึกทางดาวเทียมในปี 1979 และน้อยกว่าสถิติที่ต่ำที่สุดเมื่อปี 1986 ถึงราว 1.03 ล้านตารางกิโลเมตร

ก่อนหน้านี้ NSIDC ก็เปิดเผยว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขอบเขตแผ่นน้ำแข็งในทะเลช่วงฤดูร้อนก็แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 1.79 ล้านตารางกิโลเมตรเช่นกัน ก่อนที่น้ำแข็งจะค่อยๆ ขยายตัวเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว แต่อยู่ในอัตราที่ช้ากว่าปกติมาก

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ระบุแน่ชัดว่า นี่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่

ด้าน NSIDC กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวมาจากการวิเคราะห์ในเบื้องต้นเท่านั้น และจะมีการเปิดเผยการวิเคราะห์ฉบับเต็มภายในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้

ทั้งนี้ แอนตาร์กติกอยู่ในเขตขั้วโลกใต้ พื้นที่ร้อยละ 98 ถูกปกคลุมด้วยพืดน้ำแข็ง และน้ำแข็งของทวีปนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลกใบนี้

เพราะสภาพอากาศที่หนาวจัด มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่เกือบ -60 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ -94 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่แบบถาวร นอกจากสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สามารถทนต่ออากาศหนาวได้ เช่น เพนกวินและแมวน้ำ

ตามปกติแล้ว ฤดูกาลในซีกโลกใต้จะตรงข้ามกับซีกโลกเหนือ นั่นคือจะมีช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงกันยายน ช่วงนี้จะเป็นช่วงน้ำแข็งขยายตัว โดยกันยายนจะเป็นช่วงที่หนาวที่สุดและมีน้ำแข็งมากที่สุด

ส่วนช่วงฤดูร้อนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคมและสิ้นสุดในเดือนมีนาคม ช่วงนี้เองที่น้ำแข็งจะค่อยๆ ละลายอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณแอนตาร์กติก เช่น อัตราการหดตัวของน้ำแข็งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2016 และเดือนมีนาคมปี 2022 อุณหภูมิในแอนตาร์กติกอุ่นขึ้นอยู่ที่ -10 องศาเซลเซียสจากเดิมอยู่ที่ราว -50 องศาเซลเซียสอันเนื่องจากคลื่นความร้อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต่างรู้สึกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์ให้เหตุผลว่าการละลายของน้ำแข็งในภูมิภาคดังกล่าวที่รวดเร็วขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งโลก เนื่องจากแอนตาร์กติกมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน

ประการแรก ที่นี่มีอิทธิพลต่อกระแสน้ำลึกของโลก เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำจืดตกลงไปในมหาสมุทร ก็จะดันเกลือที่อยู่ชั้นบนของมหาสมุทรตกลงไปด้านล่าง เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำ โดยมวลน้ำจากด้านล่างจะไหลเวียนขึ้นสู่ด้านบนและนำพาสารอาหารหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตขึ้นมาด้วย

นอกจากนี้ ยังผลักดันกระแสน้ำที่เกิดจากแรงดันเกลือที่เรียกว่า “กระแสน้ำเทอร์โมฮาไลน์” ซึ่งเป็นกระแสน้ำที่ไหลเวียนไปทั่วโลกและมีหน้าที่สำคัญในการปรับสมดุลสภาพภูมิอากาศ เช่น เมื่อกระแสน้ำไหลเวียนไปยังยุโรปที่ขณะนั้นมีสภาพอากาศหนาว ก็จะช่วยให้อากาศบริเวณนั้นอุ่นขึ้น

แต่การละลายของน้ำแข็งที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณน้ำจืดในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ความเค็มของน้ำในมหาสมุทรก็เจือจาง

เมื่อแรงดันเกลือในน้ำลดลง เกลือชั้นบนก็จะไม่สามารถจมลงสู่ด้านล่างได้ ขณะที่การไหลเวียนของน้ำก็ชะลอความเร็วลงและอาจหยุดชะงัก

ผลกระทบที่จะตามมาคือสภาพภูมิอากาศบริเวณแอตแลนติกเหนือเผชิญสภาพอากาศหนาวจัด ขณะที่สมดุลของสภาพอากาศก็อาจเปลี่ยนไป

 น้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติก ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์

ประการที่สอง น้ำแข็งแอนตาร์กติกสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์บางส่วนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ มีส่วนช่วยควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินไป

แต่ยิ่งน้ำแข็งในทะเลหดหายไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งเผยพื้นที่ส่วนมืดของมหาสมุทรซึ่งตรงนี้จะดูดซับแสงอาทิตย์เข้าไปแทนที่จะสะท้อนกลับ ส่งผลให้น้ำในทะเลอุ่นขึ้นและนำไปสู่การละลายของน้ำแข็งที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ แม้น้ำแข็งละลายเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น ก่อให้เกิดสตอร์มเสิร์จหรือคลื่นซัดชายฝั่ง อุทกภัยรุนแรง รวมถึงอาจมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพายุและปริมาณน้ำในพายุด้วย

อีกหนึ่งผลกระทบรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแอนตาร์กติกโดยเฉพาะเพนกวินต้องสูญเสียที่อยู่และแหล่งหาอาหาร

อย่างเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยภาพถ่ายทางดาวเทียมที่แสดงให้เห็นการตายของลูกเพนกวินจักรพรรดิซึ่งคาดว่ามากกว่า 10,000 ตัว เนื่องจากทะเลน้ำแข็งละลายและแตกตัวเร็วกว่าปกติจนทำให้ลูกเพนกวินเหล่านี้จมน้ำหรือหนาวตาย

จนถึงตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามหาปัจจัยที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่ทำให้น้ำแข็งในภูมิภาคแอนตาร์กติกหดตัวลง

แม้ว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นหนึ่งในปัจจัย แต่บางส่วนกล่าวว่านี่อาจเป็นผลมาจากอุณหภูมิและความร้อนในมหาสมุทรที่สูงขึ้นทำสถิติ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทร ไปจนถึงปรากฏการณ์เอลนีโญแต่ข้อสันนิษฐานนี้ยังมีน้ำหนักไม่มากพอ

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดที่ระบุว่าน้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติกลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนมองว่า นี่ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงภาวะโลกร้อน